สิ่งมหัศจรรย์จากชมพู่
มีคุณค่าเป็นทั้งอาหารและยา
"ชมพู่" มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ได้แก่ ชมพู่เพชรสุวรรณ, ชมพู่เพชรสายรุ้ง, ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง, ชมพู่ทับทิมจันทร์, ชมพู่ทูลเกล้า, ชมพู่น้ำดอกไม้, เป็นต้น มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า โรซี่แอปเปิ้ล (Rosoe apple )
"ชมพู่" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ยูจีเนีย จาวานิคา (Eugenia Javanica) จัดอยู่ในวงศ์ ไมร์ทาซีอี้ (Myrtaceae) ชมพู่ จัดเป็นไม้ผลที่นิยมบริโภคกันโดยทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บริโภคกันภายในประเทศทั้งนี้เนื่องจาก ชมพู่ชอกช้ำง่ายและอายุเก็บรักษาค่อนข้างสั้น ปริมาณผลผลิตยังไม่มากนัก จึงมีการส่งออกเพียงเล็กน้อย ตลาดจะอยู่ในแถบเอเชีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชมพู่ ชมพู่เป็นไม้ผลที่มีคนนิยมปลูกมาก เพราะปลูกง่าย โตเร็ว มีรสชาติหวานกรอบ มีวิตามินซีสูง นิยมนำไปฝากญาติมิตร เพราะเป็นผลไม้ที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคเนื่องจากการปลูกชมพู่ต้องห่อผล ระยะเวลาการห่อผล 20 – 25 วัน ฤทธิของสารเคมีต่างๆ หมดฤทธิแล้ว หลังจากซื้อมาแล้วนำมาล้างผลด้วยน้ำสะอาดนิดหน่อยรับประทานได้เลย ชมพู่จัดเป็นไม้ผลเมืองร้อนมีถิ่นกำเนิดแถบประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับหว้า และยูคาลิปตัส
ชมพู่มีลำต้นค่อนข้างใหญ่ สูงประมาณ 15 – 25 เมตร ลำต้นขรุขระไม่ตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก สีน้ำตาลคล้ำ ใบค่อนข้างใหญ่เรียวยาวเป็นมัน ดอกสีขาวเป็นแบบชนิดดอกสมบูรณ์เพศ ดอกใหญ่มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ผลมีลักษณะคล้ายระฆังคว่ำ เนื้อสีขาวถึงขาวขุ่น ภายในผลหนึ่งๆจะมี 1 – 3 เมล็ด เวลาแก่จัดเมล็ดจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลเข้ม
พันธุ์ของชมพู่มีมากมายหลายสายพันธุ์ได้แก่
ชมพู่เพชรสุวรรณ เป็นชมพู่ทีมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย เป็นพันธุ์ทีให้ผลผลิตเร็ว จะให้ผลผลิตหลังจากปลูก 7 – 8 เดือนเท่านั้น รูปทรงคล้ายชมพู่เพชร แต่มีผลคล้ำกว่าผิวมันมากกว่า รูที่ก้นผลจะกว้างกว่าชมพู่เพชรสายรุ้ง มีความกรอบและความหวานน้อยกว่า ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่หลอกผู้บริโภคว่าเป็นชมพู่เพชรสายรุ้ง
ชมพู่เพชรสายรุ้ง เป็นชมพู่ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างชมพู่กระหลาป๋าของอินโดนีเซียกับชมพู่แดงของไทย อายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลได้ประมาณ 2 – 3 ปี แล้วแต่การบำรุงรักษา เป็นชมพู่ที่มีรสหวานกรอบ และราคาแพงที่สุดในบรรดาชมพู่ด้วยกัน แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากทรงพุ่มค่อนข้างใหญ่จำเป็นต้องทำนั่งร้าน ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าชมพู่พันธุ์อื่นๆ ชมพู่เพชรสายรุ้งมีปลูกในจังหวัดเพชรบุรี ผลของชมพู่เพชรสายรุ้งมีรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ ผิวเปลือกผลมีสีเขียวปนแดงมองดูคล้ายสายรุ้ง ตรงกลางผลป่องเล็กน้อย เวลาแก่จัดจะเห็นเส้นเอ็นสีแดงที่ผลชัดเจน เนื้อแข็งกรอบหวาน มีความหวานระหว่าง 11 – 15 % (เปอร์เซ็นต์ความหวาน)
ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง เป็นพันธุ์ที่มีเกษตรกรนำมาจากประเทศมาเลเซีย แต่ตั้งเดิมเป็นพันธุ์มาจากประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะผลคล้ายชมพู่ทูลเกล้า คือผลเรียวยาว สีแดงเข้ม รสหวานอมฝาดเล็กน้อย ความหวานประมาณ 10 – 13 % (เปอร์เซ็นความหวาน) ข้อดีของชมพู่พันธุ์นี้คือเปลือกของผลค่อนข้างหนาทำให้ไม่ช้ำง่ายเหมือนพันธุ์อื่น ๆ ขนส่งได้ไกลไม่มีเมล็ด และน้ำหนักต่อผลดี สีสวยเหมาะแก่การจัดกระเช้าเป็นของฝากญาติผู้ใหญ่
ชมพู่ทับทิมจันทร์ เป็นชมพู่ที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย เดิมมีชื่อว่า ชีตา เกษตรกรนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2538 นำมาขยายพันธุ์และตั้งชื่อใหม่หลายชื่อ ลักษณะทรงผลคล้ายชมพู่เพชรน้ำผึ้ง แต่ก้นผลใหญ่กว่า เส้นเอ็นที่ผลเด่นชัดกว่า ผิวมันเป็นประกาย รสชาติหวาน เนื้อแน่นไม่มีเมล็ดผิวค่อนข้างหนาขนส่งได้ไกล ไม่ช้ำง่าย แต่มีข้อเสียคือการออกผลจะไม่ออกทั้งปี และไม่ค่อยดกเหมือนชมพู่พันธุ์อื่น ๆ
ชมพู่ทูลเกล้า เป็นชมพู่ที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียเหมือนกัน นำมาปลูกครั้งแรกที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อปี 2520 เป็นพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลง่าย สำต้นไม่สูงมากนักจะให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 6 – 8 เดือน ออกผลทะวายทั้งปี สีผลมีสีเขียวอ่อน หวานไม่มากนัก ปัจจุบันมีผู้ปลูกไม่มากนัก เพราะราคาสู้ชมพู่พันธุ์อื่น ๆ ไม่ได้
ชมพู่พันธุ์น้ำดอกไม้ เป็นชมพู่พันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีลักษณะต้นและใบคล้ายต้นหว้า ใบเรียวแหลมเป็นมัน มีผลคล้ายลูกจันทร์ สีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมคล้ายดอกนมแมว เนื้อบาง สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ จะให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 2 ปี
สรรพคุณของชมพู่และวิธีใช้ ชมพู่มีสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ เนื้อของผล ชมพู่ โดยนำเอาเนื้อของชมพู่มาทำเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดความสดชื่น เพราะมีกลิ่นหอม โดยการเอาเนื้อชมพู่แห้งมาบด หรือรับประทานสดก็ได้ จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันที สามารถนำมาบำรุงหัวใจได้ เพราะชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
คุณค่าทางโภชนาการในผลชมพู่ จะมีน้ำตาล วิตามินเอ(สูง) มีวิตามินซี และ วิตามินอื่น ๆ มีแร่ธาตุ เช่น ฟอสฟอรัส มีคาร์โบไฮเดรต และอื่น ๆ
ใช้เป็นยาสมุนไพร ผลของชมพู่ มีสรรพคุณใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ และ ทำให้ชุ่มชื่น ใยของชมพู่ มีสรรพคุณใช้เป็นยาลดไข้ แก้ตาเจ็บ ส่วนเมล็ดชมพู่ ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย และแก้เบา หวาน
วิธีทำน้ำชมพู่
ส่วนผสม ชมพู่ 5 ผล น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย เกลือป่น 1/4 ช้อนชา และน้ำต้มสุก 2 ถ้วย
วิธีทำ ให้ล้างชมพู่ให้สะอาด ผ่าเอาเมล็ดและใส้ออก หั่นชิ้นเล็กๆแล้วใส่ลงในโถปั่น ใส่น้ำสุกแล้วปั่นให้เข้ากันดี จากนั้นใส่น้ำเชื่อม เกลือป่น แล้วจึงปั่นอีกครั้งหนึ่ง ให้เข้ากันให้ดี ใส่น้ำแข็งดื่มขณะเครื่องดื่มกำลังเย็นสดชื่น ชุมชื่นหัวใจดีนักแล
ดังนั้น ชมพู่จึงเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นสิ่งมหัศจรรย์จากชมพู่ สรรพคุณของชมพู่สามารถช่วยในการฟื้นไข้และก็ช่วยในการรักษาโรคหวัดได้ด้วยเอกลักษณ์ของชมพู่นั้น คือ จะมีรสชาติที่ดี และชมพู่นั้นก็จะให้พลังงานที่ต่ำมากแต่ก็สามารถทำให้อิ่มได้ และจะรู้สึกว่าหนักท้อง ถ้าเกิดว่าเราทานไปเยอะ ๆ การทานชมพู่นั้น ไม่สามารถที่จะทำให้ คุณอ้วนได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น การทานชมพู่ จึงเหมาะกับคนที่ต้องการจะลดน้ำหนัก สำหรับน้ำที่อยู่ ในชมพู่นั้น สามารถทำให้ผิว ของคุณเปล่งปลั่ง สวยงามแถมยังทำให้รู้สึกสดชื่นอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย *-* รู้แล้วไปหาชมพูมาทานกันครับเพื่อสุขภาพที่ดี *-*
เรียบเรียงโดย : http://oteamwork.blogspot.com/
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio47-48/47-480026.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น