ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

*คู่มือประชาชนสำหรับติดต่อราชการฝ่ายทะเบียน

คู่มือประชาชนสำหรับติดต่อราชการฝ่ายทะเบียน

  1. การขอสำเนาทะเบียนบ้าน
  2. การแจ้งเกิด
  3. การแจ้งตาย
  4. การแจ้งย้ายออก
  5. การแจ้งย้ายเข้า
  6. การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านกรณีตาย
  7. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร
  8. การตรวจ คัดและรับรองเอกสารการทะเบียนราษฎรและรายการจากฐานข้อมูล
  9. การขอมีบัตร
  10. การขอมีบัตรใหม่
  11. การขอเปลี่ยนบัตร
  12. การตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร
  13. การจดทะเบียนสมรส
  14. การจดทะเบียนการหย่า
  15. การจดทะเบียนรับรองบุตร
  16. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  17. การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
  18. การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
  19. การตรวจ คัดและรับรองสำเนาทะเบียนครอบครัว และการรับรองรายการจากฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัว
  20. การออกหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านาม
  21. การเปลี่ยนชื่อตัว การตั้งและเปลี่ยนชื่อรอง
  22. การออกหนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว
  23. การจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลหรือขอตั้งชื่อสกุลใหม่
  24. การออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว
  25. การเปลี่ยนชื่อสกุลโดยการร่วมใช้ชื่อสกุล
  26. การออกหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล
  27. การเปลี่ยนชื่อสกุลโดยการสมรสการสิ้นสุดการสมรส และเหตุอื่นๆ
  28. การขอใบแทนหนังสือสำคัญ กรณีชำรุดหรือสูญหาย
  29. การคัดและรับรองสำเนารายการในฐานข้อมูลทะเบียนชื่อบุคคล
งานทะเบียนราษฎร
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับรายการบุคคลเริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงตาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในทางกฏหมาย
 

การขอสำเนาทะเบียนบ้าน

บ้าน อาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมถึงเรือหรือแพที่จอดประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งใช้อยู่อาศัยจะต้องขอเลขที่ประจำบ้านและทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่การก่อสร้างแล้วเสร็จ
 

กรณีมีบ้านเลขที่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับสำเนาทะเบียนบ้าน

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้านหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. หลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง

กรณีสำเนาทะเบียนบ้านสูญหายหรือถูกทำลาย

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 20 บาท

กรณีสำเนาทะเบียนบ้านชำรุดในสาระสำคัญ

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ชำรุด
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 20 บาท

การแจ้งเกิด

เมื่อมีการแจ้งเกิดเจ้าหน้าที่จะออกสูติบัตรหรือใบเกิดให้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อราชการของเด็ก สูติบัตรจะแสดงรายการของเด็ก เช่น ชื่อตัว-ชื่อสกุล สัญชาติ วันเดือนปีเกิด บิดามารดา สูติบัตรเป็นเอกสารสำคัญจึงควรเก็บรักษาเป็นอย่างดี
 

การแจ้งเกิดกรณีเด็กเกิดในสถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในท้องที่สำนักทะเบียน

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง (บิดา หรือมารดา หรือเจ้าบ้านที่เด็กเกิด)
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. หนังสือรับรองการเกิดตามแบบพิมพ์ ท.ร. 1/1 (โรงพยาบาลที่เด็กเกิดออกให้)
  4. บัตรประจำตัวของบิดามารดา (ถ้ามี)
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน กรณีเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านในเขตท้องที่ที่เด็กเกิด
ข้อควรทราบ : แจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด หากเกินกำหนดมีโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การแจ้งตาย

การแจ้งตายกรณีปกติทั่วไป

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
    • คนตายในบ้านหรือสถานพยาบาลให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้ง
    • คนตายในบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
    • คนตายนอกบ้านให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร. 4/1 กรณีคนตายในสถานพยาบาล
  4. หลักฐานของผู้ตาย (ถ้ามี)

การแจ้งตายโดยมีเหตุอันควรสงสัยว่าตายด้วยโรคติดต่อ หรือตายโดยผิดธรรมชาติ

 (อุบัติเหตุ ฆ่าตัวตาย ถูกผู้อื่นฆ่าหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ)
หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
    • คนตายในบ้านให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้ง
    • คนตายในบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
    • คนตายนอกบ้านให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. หลักฐานการรับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือสถาบันนิติเวช หรือหนังสืออนุญาตจากพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่ออันตรายแล้วแต่กรณี
  4. หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี)
  5. หลักฐานของผู้ตาย (ถ้ามี)
ข้อควรทราบ : แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หากเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 

การขอเปลี่ยนแปลงการจัดการศพ

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง (เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ตาย)
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. มรณบัตร

การแจ้งย้ายออก

การแจ้งย้ายออกกรณีปกติทั่วไป

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายออก
ข้อควรทราบ
กรณีคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถ้าย้ายออกนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร ใช้บัตรประจำตัวหรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ และหนังสืออนุญาตออกนอกเขตจังหวัดของสำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ กระทรวงมหาดไทย
บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนบ้านที่อยู่ ใช้บัตรประจำตัวหรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ และหนังสืออนุญาตออกนอกเขตจากสำนักงานกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง
 

การแจ้งย้ายออกและย้ายเข้าในเขตเดียวกัน

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายออก
  2. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
  3. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
 

การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลางหรือทะเบียนประวัติกลาง

ทะเบียนบ้านกลาง คือทะเบียนสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่สามารถมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามปกติทั่วไป สาเหตุอาจเกิดจากไม่มีทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า ทำให้ต้องย้ายหรือเพิ่มชื่อบุคคลนั้นไว้ในทะเบียนบ้านกลางหรือทะเบียนประวัติกลาง เนื่องจากทะเบียนบ้านกลางมิใช่ทะเบียนบ้านจึงไม่สามารถใช้อ้างอิงหรือติดต่อราชการต่างๆได้เหมือนทะเบียนบ้าน หากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแจ้งย้ายที่อยู่ให้ถูกต้อง
หลักฐาน
บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้แจ้งเป็นบุคคลเดียวกันกับรายการบุคคลที่จะย้ายออก หากเป็นผู้เยาว์ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้แจ้งย้ายออก
 

การแจ้งย้ายออกของบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายออก
  4. หลักฐานที่แสดงว่าเดินทางไปต่างประเทศ (ถ้ามี)
 

การแจ้งย้ายเข้า

การแจ้งย้ายเข้ากรณีปกติทั่วไป

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
  4. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1, 2 ที่ลงลายมือชื่อเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าและผู้แจ้งแล้ว
ข้อควรทราบ
กรณีคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ใช้บัตรประจำตัวหรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ และหลักฐานการรับรายงานตัวจากสำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ กระทรวงมหาดไทย
บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนย้ายที่อยู่ ใช้บัตรประจำตัวหรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ และหลักฐานการรับรายงานตัวจากสำนักงานกิจการความมั่นคงภายในกรมการปกครอง

การแจ้งย้ายกรณีเดินทางกลับจากต่างประเทศ

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง (ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ)
  2. กรณีย้ายเข้าในเขตสำนักทะเบียนเดียวกันใช้บัตรประจำตัวของเข้าบ้านและสำเนาทะเบียนบานที่จะแจ้งย้ายเข้า
  3. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
หมายเหตุ กรณีแจ้งย้ายไปเข้าทะเบียนบ้านที่อยู่ต่างสำนักทะเบียนจะได้รับแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1, 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าตามปกติต่อไป
 

กรณีย้ายออกแล้วจะย้ายกลับเข้าทะเบียนบ้านเดิมโดยยังไม่ได้ไปแจ้งย้ายเข้าที่อื่น

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
  4. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1, 2 ที่ลงลายมือชื่อเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าและผู้แจ้งแล้ว
 

กรณีย้ายออกแล้วแต่ผู้ย้ายที่อยู่บางรายถึงแก่ความตายก่อนที่จะไปแจ้งย้ายเข้า

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
  4. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1, 2 ที่ลงลายมือชื่อเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าและผู้แจ้งแล้ว
  5. มรณบัตรหรือใบรับแจ้งการตายของผู้ตาย

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง (เจ้าของรายการ) หากเป็นผู้เยาว์ให้บิดา หรือมารดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้แจ้ง
  2. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าพร้อมหนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าและสำเนาทะเบียนบ้าน
  3. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 20 บาท
ข้อควรทราบ : การแจ้งย้ายเข้าหรือย้ายออกต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีคนย้ายเข้าหรือย้ายออก หากเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 

การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านกรณีตาย

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีรายการของผู้ตาย
ข้อควรทราบ : หลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศอื่น ต้องได้รับการแปลและรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
 

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง (เจ้าของรายการ) กรณีเป็นผู้เยาว์ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้แจ้ง
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    • หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
  3. เอกสารการทะเบียนนราษฎรที่ต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
  4. เอกสารราชการที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการขอแก้ไขรายการ
 

การตรวจ คัดและรับรองเอกสารการทะเบียนราษฎรและรายการจากฐานข้อมูล

  1. กรณีขอคัดและรับรองจากเอกสารต้นฉบับ ยื่นคำร้องได้ที่สำนักทะเบียนที่จัดทำเอกสารทะเบียนราษฎร
  2. กรณีขอคัดและรับรองรายการจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน
หลักฐาน
  1. กรณีเจ้าของรายการมาดำเนินการด้วยตนเอง
    • บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำร้อง
  2. กรณีผู้มีส่วนได้เสียขอคัดรายการของบุคคลอื่น
    • บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำร้อง
    • เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียพร้อมสำเนา
  3. กรณีเจ้าของรายการหรือผู้มีส่วนได้เสียมอบให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
    • หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์)
  4. กรณีทนายความ
    • บัตรประจำตัวทนายความ
    • หลักฐานการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
    • หากไม่สามารถแสดงหลักฐานการเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้ให้บันทึกปากคำทนายความตามแบบพิมพ์ ป.ค. 14

งานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน

คุณสมบัติของผู้ขอมีบัตรประจำตัว

  1. มีสัญชาติไทย
  2. อายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  3. มีชื่นในทะเบียนบ้าน
 

การขอมีบัตร

กรณีขอมีบัตรเป็นครั้งแรก

หลักฐาน
  1. สูติบัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย เช่น ใบสุทธิ หนังสือเดินทาง เป็นต้น
  2. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)
  3. กรณีขอมีบัตรเป็นครั้งแรกโดยมีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าว ใช้หลักฐานใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดา หากถึงแก่ความตายให้นำใบมรณบัตรของผู้ที่ถึงแก่ความตายไปแสดง
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อายุครบ 7 ปี บริบูรณ์ เกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
 

กรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน หรือแจ้งเกิดเกินกำหนด

หลักฐาน
  1. กรณีเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ใช้หลักฐานการเพิ่มชื่อหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้
  2. กรณีแจ้งเกิดเกินกำหนดใช้สูติบัตร
  3. เจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือรับรอง
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน เกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
 

กรณีเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น หรือบุคคลซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี

หลักฐาน
  1. หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสุทธิของพระ หรือหนังสือเดินทางกรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างศึกษาที่ต่างประเทศ
  2. กรณีไม่มีหลักฐานแสดงการเป็นผู้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร
    • หลักฐานอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี)
    • เจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือรับรอง
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน เกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
 

กรณีเป็นบุคคลซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้น

หลักฐาน
หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือเดินทางและเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ หรือหนังสือสำคัญของเรือนจำหรือทัณฑสถาน
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้น เกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

กรณีเป็นบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทย

หลักฐาน
  1. กรณีได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติเป็นไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทยใช้หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย หรือหนังสือสำคัญแสดงการได้กลับคืนสัญชาติไทย
  2. กรณีขอมีบัตรเป็นครั้งแรกโดยมีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าว ใช้หลักฐานใบสำคัญรประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดา หากถึงแก่ความตายให้นำมรณบัตรของผู้ที่ถึงแก่ความตายไปแสดง
  3. หลักฐานอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี)
  4. เจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือรับรอง
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับสัญชาติไทย เกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

การขอมีบัตรใหม่

กรณีบัตรเดิมหมดอายุ

หลักฐาน
  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ เกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
 

กรณีบัตรเดิมสูญหายหรือถูกทำลาย

หลักฐาน
  • หลักฐานทางราชการที่มีรูปถ่าย เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา หนังสือเดินทางเป็นต้น หากไม่มีให้พาเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
ค่าธรรมเนียม : 20 บาท
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย เกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
 

การขอเปลี่ยนบัตร

กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ

หลักฐาน
  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุด
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ เกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
  2. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุลแล้วแต่กรณี
ค่าธรรมเนียม : 20 บาท
ข้อควรทราบ : ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน เกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
 

กรณีเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ตามหลักฐานทะเบียนบ้านและบัตรเดิมยังไม่หมดอายุ

หลักฐาน
  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
ค่าธรรมเนียม : 20 บาท
 

กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม

หลักฐาน
  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
  • หลักฐานแสดงการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เช่น ทะเบียนสมรส ฯลฯ
 

การขอมีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

คุณสมบัติของผู้ขอมีบัตร
  1. อายุตั้งแต่ 5 ปีบริบูรณ์
  2. มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ
หลักฐาน
  1. สำเนาทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ
  2. บัตรประจำตัวเดิม (กรณีบัตรหมดอายุ ชำรุด หรือขอเปลี่ยนบัตร)
  3. เอกสารราชการอื่น เช่น ใบสำคัญที่อยู่ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ใบตอบรับการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ค่าธรรมเนียม : 60 บาท ยกเว้นการทำบัตรครั้งแรกของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี
ข้อควรทราบ :
ยื่นคำขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อายุครบ 5 ปีบริบูรณ์ หรือเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ หรือบัตรเติมหมดอายุ สูญหาย ถูกทำลาย ชำรุดหรือวันที่มีการแก้ไขรายการชื่อตัว-ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิดในเอกสารทะเบียนราษฎร หากเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
 

การตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร

หลักฐาน
  1. กรณีดำเนินการด้วยตนเอง ใช้บัตรประจำตัวของเจ้าของรายการบัตร
  2. กรณีมอบอำนาจ
    • บัตรประจำตัวผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
    • หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์)
  3. กรณีผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงขอคัดรายการบัตรของบุคคลอื่น
    • บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ
    • เอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับรายการบัตรที่จะขอตรวจ คัดและรับรอง
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 10 บาท
 

งานทะเบียนครอบครัว

การจดทะเบียนสมรส

การสมรสจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย คู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน
คุณสมบัติของผู้จดทะเบียนสมรส
  1. ชาย-หญิงมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี บริบูรณ์
  2. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
  3. ไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา
  4. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  5. ไม่เป็นคู่สมรสกับบุคคลอื่น
  6. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ก็ต่อเมื่อการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดไปแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    • คลอดบัตรแล้วในระหว่างนั้น
    • สมรสกับคู่สมรสเดิม
    • มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
    • ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวผู้ร้อง
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) บิดา มารดา ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง หากไม่สามารถมาด้วยตนเองได้ให้ใช้หนังสือให้ความยินยอม
  4. กรณีผู้ร้องเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน ให้ใช้หลักฐานการหย่า เช่น ใบหย่า
  5. กรณีคู่สมรสตาย ให้ใช้หลักฐานการตาย เช่น มรณบัตร
  6. กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ต้องใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่ให้จดทะเบียน
  7. พยานอย่างน้อย 2 คน
 

การจดทะเบียนหย่า

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ร้อง
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. หลักฐานการสมรส
  4. หนังสือสัญญาหย่าหรือข้อตกลงการหย่าที่มีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
  5. กรณีจดทะเบียนการหย่าตามคำพิพากษาศาสล ต้องใช้คำพิพากษาถึงที่สุดและคำรับรองว่าถูกต้อง
  6. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)
  7. พยานอย่างน้อย 2 คน

การจดทะเบียนรับรองบุตร

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวผู้ร้อง
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)
  3. เด็กและมารดาเด็กมาให้ความยินยอมด้วยตนเอง นายทะเบียนจะมีหนังสือสอบถามไปยังเด็กและมารดาว่ายินยอมหรือไม่
  4. กรณีเด็กและหรือมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมด้วยจนเอง นายทะเบียนจะมีหนังสือสอบถามไปยังเด็กและมารดาว่ายินยอมหรือไม่
  5. กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ต้องใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่ให้จดทะเบียน
  6. พยานอย่างน้อย 2 คน

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

คุณสมบัติของผู้จดทะเบียน
  1. ผู้จะขอรับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุมากกว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 5 ปี
  2. ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย
  3. ผู้ที่จะขอรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย
  4. กรณีผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเสียก่อน
หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ร้อง
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องใช้หนังสืออนุมัติให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรุงเทพมหานครหรือชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยยื่นเรื่องขอหนังสืออนุมัติฯ ได้ที่ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ต่างจังหวัดยื่นเรื่องได้ที่ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด)
  4. กรณีบุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส คู่สมรสต้องให้ความยินยอม หากไม่สามารถมาให้ความยินยอมด้วยตนเองให้ใช้หนังสือให้ความยินยอม
  5. กรณีมีการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต้องใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
  6. พยานอย่างน้อย 2 คน
 

การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ร้อง
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  4. กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องมีหนังสือรับรองว่าได้เข้าสู่กระบวนการเยียวยาจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่ให้ความยินยอมในขณะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  5. กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ต้องใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
  6. พยานอย่างน้อย 2 คน
 

การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ร้อง
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนครอบครัว เช่น สมรส หย่า รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้นที่ทำขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือสถานฑูตสถานกงศุลของไทย หรือสถานฑูตสถานกงศุลของประเทศนั้นๆ แล้ว
  4. พยานอย่างน้อย 2 คน
ข้อควรทราบ :
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝายมีสัญชาติไทยและได้มีการจดทะเบียนครอบครัวตามกฎหมายต่างประเทศ
 

การตรวจ คัดและรับรองสำเนาทะเบียนครอบครัว และการรับรองรายการจากฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัว

กรณีขอคัดและรับรองจากเอกสารต้นฉบับ
ยื่นคำร้องได้ที่ : สำนักทะเบียนที่จัดทำเอกสาร
กรณีขอคัดและรับรองรายการจากฐานข้อมูล
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน
หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าของรายการหรือผู้มีส่วนได้เสีย
  2. หลักฐานการแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
  3. กรณีมอบอำนาจ
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
    • หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์)
 

การออกหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านามหญิง

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ร้อง
  2. หลักฐานการสมรส หรือการสิ้นสุดการสมรส หรือการบันทึกฐานะแห่งครอบครัว

งานทะเบียนชื่อบุคคล

การเปลี่ยนชื่อตัว การตั้งและเปลี่ยนชื่อรอง

หลักเกณฑ์
  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินีหรือราชทินนาม
  2. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  3. ต้องไม่มีเจตนาทุจริต
  4. ผู้ที่ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอดถอน สามารถใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์นั้นเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้
  5. ชื่อรองที่จะขอตั้งต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลของบุคคลอื่น ยกเว้นการใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสเป็นชื่อรอง
  6. กรณีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองได้
หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. เอกสารอื่น (ถ้ามี) เช่น สูติบัตร ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ทะเบียนการหย่า ซึ่งระบุอำนาจการปกครองบุตรฯ
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 50 บาท ยกเว้นการตั้งชื่อรองครั้งแรกไม่เสียค่าธรรมเนียม
 

การออกหนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว เพื่อประกอบการขอแปลงสัญชาติหรือขอกลับคืนสัญชาติไทย

หลักเกณฑ์
  1. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้
  2. หลักฐานคำขอแปลงสัญชาติหรือขอกลับคืนสัญชาติไทยและเหตุผล
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
 

การจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลหรือขอตั้งชื่อสกุลใหม่

หลักเกณฑ์
  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชชินี
  2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตน ของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน
  3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือชื่อสกุลในฐานข้อมูลทะเบียนขื่อบุคคลและฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
  4. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  5. มีพยัญชนะไม่เกินสอบพยัญชนะ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
  6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า "ณ" นำหน้าชื่อสกุล
  7. ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรมนามาภิไธยมาใช้เป็นนามสกุล
  8. ห้ามเพิ่มเครื่องหมายนามสกุล เว้นแต่เป็นราชตระกูล
หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 100 บาท
 

การออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว เพื่อประกอบการขอแปลงสัญชาติหรือขอกลับคืนสัญชาติไทย

หลักเกณฑ์
  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
  2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแตราชทินนามของตนของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน
  3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือชื่อสกุลในฐานข้อมูลทะเบียนชื่อบุคคลและฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
  4. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยายคาย
  5. มีพยัญชนะไม่เกินสอบพยัญชนะ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
  6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า "ณ" นำหน้าชื่อสกุล
  7. ห้ามเอานามพระมหานครและศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรมนามาภิไธยมาใช้เป็นนามสกุล
  8. ห้ามเพิ่มเครื่องหมายนามสกุล เว้นแต่เป็นราชตระกูล
หลักฐาน
  1. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้
  2. หลักฐานคำขอแปลงสัญชาติหรือขอกลับคืนสัญชาติไทยและเหตุผล
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
 

การเปลี่ยนชื่อสกุลโดยการร่วมใช้ชื่อสกุล

หลักเกณฑ์
  1. ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลจะอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ชื่อสกุลของตนเองก็ได้
  2. กรณีผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลเสียชีวิตแล้ว หรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดว่าเป็นผู้สาบสูญ ผู้สืบสันดานของผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลในลำดับใกล้ชิดที่สุดซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลนั้น มีสิทธิอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยร่วมใช้ชื่อสกุลได้
ขั้นตอนที่ 1 เจ้าของชื่อสกุลหรือผู้มีสิทธิอนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. กรณีเป็นเจ้าของชื่อสกุล ใช้หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุลตามแบบ ช.2 หรือ
กรณีเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล ใช้หนังสือรับรองการเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบ ช.7
 
ขั้นตอนที่ 2 ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล
หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบ ช.6
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 100 บาท
 

การออกหนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ (ผู้สืบสันดานของผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลในลำดับที่ใกล้ชิดที่สุดซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลนั้น)
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุลตามแบบ ช.2 ของเจ้าของชื่อสกุล
  4. หลักฐานทางราชการที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุลได้ เช่น สูติบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนรับรองบุตร คำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรฯ
 

การเปลี่ยนชื่อสกุลโดยการสมรส การสิ้นสุดการสมรสการสมรส และเหตุอื่นๆ

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. บันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลกรณีคู่สมรสประสงค์จะใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งหรือหลักฐานการสิ้นสุดการสมรส หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรม สำเนาทะเบียนรับรองบุตร ฯลฯ
ค่าธรรมเนียม
  1. การเปลี่ยนชื่อสกุลครั้งแรกเมื่อจดทะเบียนสมรส ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  2. การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะการสมรสสิ้นสุด ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  3. การเปลี่ยนชื่อสกุลภายหลังการจดทะเบียนสมรสครั้้งต่อๆไป ฉบับละ 50 บาท
  4. การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุอื่นๆ ฉบับละ 100 บาท
 

การขอใบแทนหนังสือสำคัญ กรณีชำรุดหรือสูญหาย

หนังสือสำคัญที่จะขอให้ออกใบแทน ได้แก่ หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวการตั้งหรือเปลี่ยนชื่อรอง (ช.3) หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2) หนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4) หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5)
หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. หลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหาย กรณีหนังสือสำคัญสูญหาย
  4. หนังสือสำคัญที่ชำรุด กรณีหนังสือสำคัญชำรุด
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 25 บาท
 

การคัดและรับรองสำเนารายการในฐานข้อมูลทะเบียนชื่อบุคคล

หลักฐาน
  1. บัตรประจำตัวของเจ้าของรายการหรือผู้มีส่วนได้เสีย
  2. หลักฐานการเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับรายการที่จะขอคัดและรับรอง
  3. กรณีมอบอำนาจ
    • บัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
    • หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์)
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 10 บาท
อ้างอิงจาก
คู่มือประชาชน สำหรับติดต่อราชการ
ณ ศูนย์บริการกรุงเทพมหานคร (Bangkok Service Center)
สำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ที่่มา : http://office.bangkok.go.th/bkum/manual/reg/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow Us On