- เกิดที่ไหนไม่จำเป็นต้องได้เป็นคนสัญชาตินั้น แล้วแต่กฏหมายของที่นั้น
- บุตรที่เกิดจากพ่อหรือแม่ไทย ก็สามารถได้สัญชาติไทยได้
(เข้าใจว่า จขกท คงเข้าใจ แต่มีบางคำตอบทำให้สับสน)
- ใบที่เซี่ยงไฮ้ออกให้อาจจะไม่ใช่สูติบัตร แต่เป็นใบเกิดจาก รพ
ต่อไปนี้เป็นข้อมูล จากกรมการกลุสล กระทรวงการต่างประเทศ
การยื่นคำร้องขอสูติบัตรไทยกรณีเกิดในต่างประเทศ
กฎหมายไทยกำหนดให้ "บุคคลที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด" ดังนั้น บิดามารดาสามารถแจ้งขอสูติบัตรไทยได้ที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หากบิดามารดาและบุตรได้ย้ายกลับมาพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวรแล้ว ก็สามารถดำเนินการเรื่องแจ้งเกิดและขอสูติบัตรไทยได้ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ ทั้งนี้ กองสัญชาติฯ กรมการกงสุลจะอำนวยความสะดวกโดยจัดส่งเอกสารไปให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศที่บุตรเกิดดำเนินการออกสูติบัตรไทยให้
•เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอสูติบัตร
1. ใบเกิด หรือ หนังสือรับรองการเกิดจากทางการท้องถิ่น ที่ผ่านการรับรองจาก สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ของประเทศที่ออกเอกสารนั้นหากเป็นภาษาอื่นซึ่งมิใช่ภาษาอังกฤษ ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย และนำไปให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของประเทศนั้นรับรอง ก่อนที่จะนำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์กรมการกงสุล (ใช้ชุดต้นฉบับที่รับรองแล้ว)
หมายเหตุ หนังสือรับรองการเกิดที่ออกโดยทางการท้องถิ่นในบางประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกาและจีน ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศหรือโนตาลี่พับลิกของประเทศดังกล่าวก่อน มิฉะนั้น สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศดังกล่าว จะไม่สามารถรับรองให้ได้
2. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา/มารดา (กรณีเป็นบุคคลสัญชาติไทย)
3. ทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา (กรณีเป็นบุคคลสัญชาติไทย)
4. หนังสือเดินทางของบิดา/มารดา (กรณีเป็นคนต่างชาติ)
5. ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า (หากจดทะเบียนฯ ตามกฎหมายของประเทศอื่นๆ ต้องนำเอกสารดังกล่าวไปให้สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ของประเทศนั้น รับรองก่อน หากเป็นภาษาอื่นซึ่งมิใช่ภาษาอังกฤษ ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย และนำไปให้สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ของประเทศนั้นรับรอง ก่อนที่จะนำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล (ใช้ชุดต้นฉบับที่รับรองแล้ว)
หมายเหตุ ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าที่ออกโดยทางการท้องถิ่นในประเทศ สหรัฐอเมริกาและจีน ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศหรือโนตาลี่พับลิกของประเทศนั้นๆ ก่อน มิฉะนั้น สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศดังกล่าว จะไม่สามารถรับรองให้ได้
6. หนังสือเดินทางของบุตร (หนังสือเดินทางที่ใช้เดินทางเข้าประเทศไทย อาจเป็นหนังสือเดินทางไทยหรือหนังสือเดินทางต่างชาติก็ได้)
หมายเหตุ เอกสารทุกอย่างต้องนำฉบับจริงมาแสดงต่อหน้าเจ้าหน้าที่ พร้อมถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด
•ระยะเวลาดำเนินการ เนื่องจากต้องส่งเอกสารไปดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ในประเทศที่เด็กเกิด จึงอาจใช้ระยะเวลาดำเนินการนานกว่าการแจ้งเกิดและขอสูติบัตรในประเทศที่เด็กเกิดโดยตรง ดังนั้น จึงควรแจ้งเกิดขอสูติบัตรไทยพร้อมกับยื่นขอหนังสือเดินทางไทยต่อสถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศที่เด็กเกิดในคราวเดียวกัน
ที่มา : กรมการกลุสล กระทรวงการต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น