ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

* ขั้นตอนการเข้ารับบริการ งานทะเบียนราษฎร

ฝ่ายทะเบียน

  ฝ่ายทะเบียนมีหน้าที่รับผิดชอบ
 
  • งานทะเบียนราษฎร
  • งานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
  • งานทะเบียนครอบครัว
  • งานทะเบียนชื่อบุคคล

ขั้นตอนการเข้ารับบริการ
 
  • ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ ณ จุดบริการ
  • แจ้งความประสงค์ในการขอรับบริการ
  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานเบื้องต้น
  • รับบัตรคิว และรอฟังประกาศเรียกตามลำดับหมายเลข หรือรับคำแนะนำสถานที่ติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบตามเรื่องที่ประสงค์จะขอรับบริการ
  • เข้ารับบริการจากเจ้าหน้าที่
  • เจ้าหน้าที่รับเรื่องเพื่อดำเนินการ
  • กรณีสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จจะได้รับเอกสารหลักฐานจากเจ้าหน้าที่
งานทะเบียนราษฎร
1. การขอเลขหมายประจำบ้าน
หลักเกณฑ์
เจ้าของบ้านผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างบ้าน เป็นผู้แจ้งที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตท้องที่ที่บ้านนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอเลขประจำบ้าน ภายใน 15 วันนับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ขอภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
2. หนังสืออนุญาตปลูกสร้างบ้าน/ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและแบบแปลนการก่อสร้าง (ถ้ามี)
3. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน
   - หนังสือมอบหมาย
   - บัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบหมาย

2. การแจ้งรื้อบ้าน
หลักเกณฑ์
เจ้าของบ้านหรือเจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตท้องที่ที่บ้านนั้นตั้งอยู่ เพื่อแจ้งรื้อเลขประจำบ้าน ภายใน 15 วันนับแต่วันรื้อเสร็จ หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน พร้อมเล่มทะเบียนบ้านหลังที่รื้อถอน
2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน
   - หนังสือมอบหมาย
   - บัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบหมาย

3. การขอสำเนาทะเบียนบ้าน
3.1   กรณีมีบ้านเลขที่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับสำเนาทะเบียนบ้าน
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตที่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์
(2) กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    · บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    · หนังสือมอบหมาย
(3) หลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

3.2   กรณีสำเนาทะเบียนบ้านสูญหายหรือถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ยื่นคำร้องได้ที่ : ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตตามหลักฐานทะเบียนบ้าน
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
(2) กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    · บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
    · หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
    ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 20 บาท
 4. การแจ้งเกิด
หลักเกณฑ์
การแจ้งการเกิด ควรแจ้งชื่อเด็กที่เกิดตามหลักเกณฑ์ การตั้งชื่อบุคคล พร้อมกับการแจ้งการเกิด ภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง (บิดา มารดา หรือเจ้าบ้านที่เด็กเกิด)
(2)    กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
·       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย
·       หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
(3)    หนังสือรับรองการเกิดตามแบบ ท.ร.1/1 จากสถานพยาบาลที่เด็กเกิดออกให้
(4)    บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี)
(5)    เล่มทะเบียนบ้าน กรณีเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านในเขตท้องที่ที่เด็กเกิด

5. การแจ้งตาย
หลักเกณฑ์
ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตายภายใน  24  ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ตายหรือพบศพ หากเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
·       คนตายในบ้านหรือสถานพยาบาลให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้ง
·       คนตายในบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
·       คนตายนอกบ้านให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
(2)    กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
·       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ
·       หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
(3)    หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.4/1 กรณีคนตายในสถานพยาบาล
(4)    สำเนาบันทึกประจำวันของสถานตำรวจ
(5)    หลักฐานของผู้ตาย (ถ้ามี)

6. การแจ้งย้ายออก
6.1 การแจ้งย้ายออกกรณีปกติทั่วไป
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
(2)    กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
·       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ
·       หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
(3)    สำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายออก
ข้อควรทราบ : กรณีคนต่างด้าวหลบเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถ้าย้ายออกนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร ใช้บัตรประจำตัวหรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ และหนังสืออนุญาตออกนอกเขตจังหวัดของสำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ กระทรวงมหาดไทย
บุคคลทีไม่มีสถานะทางทะเบียนย้ายที่อยู่ ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ และหนังสืออนุญาตออกนอกเขตจากสำนักงานกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง
6.2  การแจ้งย้ายออกและย้ายเข้าในเขตเดียวกัน
(1)    บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก
(2)    บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
(3)    กรณีเจ้าบ้านมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
·       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ
·       หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
6.3  การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ทะเบียนบ้านกลาง คือ ทะเบียนสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่สามารถมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามปกติทั่วไป ทะเบียนบ้านกลางมิใช่ทะเบียนบ้าน จึงไม่สามารถใช้อ้างอิงหรือติดต่อราชการใด ๆ ได้เหมือนทะเบียนบ้าน หากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแจ้งย้ายที่อยู่ให้ถูกต้อง
หลักฐาน
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้แจ้งเป็นบุคคลเดียวกันกับรายการบุคคลที่จะย้ายออก หากเป็นผู้เยาว์ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้แจ้งย้ายออก

7. การแจ้งย้ายเข้า
7.1   การแจ้งย้ายเข้ากรณีปกติทั่วไป
หลักฐาน
(1)    บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
(2)    กรณีเจ้าบ้านมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
·       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ
·       หนังสือมอบหมาย
(3)    สำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
(4)    ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1, 2 ที่ลงลายมือชื่อเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าและผู้แจ้งแล้ว
ข้อควรทราบ : กรณีคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ใช้บัตรประจำตัวหรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ และหลักฐานการรับรายงานตัวจากสำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ กระทรวงมหาดไทย
บุคคลทีไม่มีสถานะทางทะเบียนย้ายที่อยู่ ใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติ และหลักฐานการรับรายงานตัวจากสำนักงานกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง
7.2   การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง (เจ้าของรายการ) หากเป็นผู้เยาว์ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้แจ้ง
(2)    บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า พร้อมหนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
(3)    กรณีผู้แจ้งมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
·       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ
·       หนังสือมอบหมาย
ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 20 บาท
ข้อควรทราบ : การแจ้งย้ายเข้าหรือย้ายออกต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีคนย้ายเข้าหรือย้ายออก หากเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

8. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่แจ้ง (เจ้าของรายการ) กรณีเป็นผู้เยาว์ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง เป็นผู้แจ้ง
(2)    กรณีมอบอำนาจ
·       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
·       หนังสือมอมอำนาจ (ติดอากรแสตมป์)
(3)    เอกสารการทะเบียนราษฎรที่ต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
(4)    เอกสารราชการที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการขอแก้ไขรายการ

9. การตรวจ คัด และรับรองเอกสารการทะเบียนราษฎร และรายการจากฐานข้อมูล
สถานที่ยื่นคำร้อง
1.       กรณีขอคัดและรับรองจากเอกสารต้นฉบับ ยื่นคำร้องได้ที่สำนักทะเบียนที่จัดทำเอกสารทะเบียนราษฎร
2.       กรณีขอคัดและรับรองรายการจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    กรณีเจ้าของรายการมาดำเนินการด้วยตนเอง
·       บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำร้อง
(2)    กรณีผู้มีส่วนได้เสียขอคัดรายการของบุคคลอื่น
·       บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำร้อง
·       เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียพร้อมสำเนา
(3)    กรณีเจ้าของรายการหรือผู้มีส่วนได้เสียมอบให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน
·       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
·       หนังสือมอมอำนาจ (ติดอากรแสตมป์)
(4)    กรณีทนายความ
·       บัตรประจำตัวทนายความ
·       หลักฐานการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
·       หากไม่สามารถแสดงหลักฐานการเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้ให้บันทึกปากคำทนายความตามแบบพิมพ์ ป.ค. 14
งานบัตรประจำตัวประชาชน
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
1.       มีสัญชาติไทย
2.       มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์
3.       ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)
สำหรับผู้มีอายุเกิน 70 ปี และผู้ได้รับการยกเว้น  จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้
บุคคลที่กฎหมายยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่
(1)    สมเด็จพระบรมราชนินี
(2)    พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
(3)    ภิกษุ  สามเณร  นักพรต และนักบวช
(4)    ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(5)    ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
(6)    บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้
1. กรณีขอทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
          ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่  7 ปีบริบูรณ์และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท
หลักฐาน
(1)    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
(2)    สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น ที่แสดงได้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
(3)    หากไม่มีเอกสารตามข้อ (2) ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
(4)    กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดามาแสดงด้วย หากถึงแก่ความตายให้นำใบมรณบัตรถึงแก่ความตายไปแสดง
(5)     การขอมีบัตรครั้งแรกอายุเกิน 20 ปี ให้นำเจ้าบ้านและพยานบุคคลผู้น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้ การรับรอง
*** บุคคลที่น่าเชื่อถือ หมายถึง “บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จัก คุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้”
ไม่เสียค่าธรรมเนียม
2. กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ให้ทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
ผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยให้ยื่นคำขอภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
หลักฐาน
(1)    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
(2)    บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
ไม่เสียค่าธรรมเนียม

3. กรณีทำบัตรหายหรือถูกทำลาย
เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหายหรือถูกทำลาย ให้แจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต เทศบาล หรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณีและขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐาน
(1)    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
(2)    เอกสารหลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย เช่น ใบอนุญาตขับขี่  ใบสุทธิ  หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
(3)    หากไม่มีเอกสารตามข้อ (2) ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
4. กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุลแล้วต้องเปลี่ยนบัตร
เมื่อผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุลต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัวชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐาน
(1)    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
(2)    บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี)
(3)    หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล แล้วแต่กรณี
เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
5. กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ 
หากบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมชำรุด หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐาน
(1)    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
(2)    บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุด (ถ้ามี)
เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
6. กรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น พระภิกษุ สามเณร ฯลฯ  จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้
หลักฐาน
(1)    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน เช่น  กรณีพระภิกษุ  หรือสามเณร ให้นำสำเนาทะเบียนบ้านของวัดที่พระหรือสามเณร มีชื่ออยู่ไปแสดง  เป็นต้น
(2)    หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น  หนังสือสุทธิของพระ  หรือหนังสือเดินทาง กรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศ
ไม่เสียค่าธรรมเนียม 
7. กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
ผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ผู้พ้นโทษจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน เป็นต้น ต้องไปขอทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันพ้นสภาพได้รับการยกเว้น หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐาน
(1)    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
(2)    หลักฐานที่แสดงว่าพ้นสภาพจากการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสำคัญของเรือนจำหรือทัณฑสถาน (ร.ท.5) หรือหนังสือเดินทาง และเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศแล้วแต่กรณี เป็นต้น
ไม่เสียค่าธรรมเนียม
8. กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่
เพื่อให้รายการที่อยู่ที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนตรงกับรายการในทะเบียนบ้าน ผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรโดยที่บัตรเดิมยังไม่หมดอายุสามารถทำได้ แต่หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรนั้นได้ต่อไปจนกว่าบัตรจะหมดอายุ
หลักฐาน
(1)    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
(2)    บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

9.  กรณีผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปีขอมีบัตร
คนสัญชาติไทยซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้ (ทำบัตรประจำตัวประชาชนมาก่อนมีรายการบัตรประจำตัวประชาชนเดิม)
หลักฐาน
(1)    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
(2)    บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม 
10.  การตรวจคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร
หลักฐาน
(1)    กรณีขอคัดรับรองสำเนารายการบัตรของตนเอง ใช้บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง
(2)    กรณีมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
- หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์)
(3) กรณีผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงขอคัดรายการบัตรของบุคคลอื่น
 - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบ
- เอกสารหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับรายการบัตรที่จะขอตรวจคัดและรับรอง
ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท
ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตร
(1)    การทำบัตรครั้งแรกและการทำบัตรกรณีบัตรเดิมหมดอายุไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
(2)    การทำบัตรที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท มีดังนี้
-          กรณีบัตรหาย
-          กรณีเปลี่ยนชื่อตัว  หรือชื่อสกุล
-          กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ
-          กรณีบัตรถูกทำลาย
-          กรณีเป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น
-          กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่ แล้วขอเปลี่ยนบัตร
(3)    การขอตรวจหลักฐาน หรือคัดสำเนา  หรือคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10  บาท
งานทะเบียนครอบครัว หมายถึง การจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของครอบครัว โดยกฎหมายรับรองสิทธิให้ ไม่ว่าจะในฐานะสามีภรรยา หรือบิดามารดากับบุตร ได้แก่ ทะเบียนสมรส ทะเบียนการหย่า ทะเบียนการรับรองบุตร ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ทะเบียนการเลิกรับบุตรบุญธรรม การบันทึกฐานะภริยา และการบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
ทะเบียนการสมรส
คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
1.      ชายหญิงมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์
2.      ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
3.      ไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา ไม่เป็น พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา
4.      ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
5.      ไม่เป็นคู่สมรสกับบุคคลอื่น
6.      หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดไปแล้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
6.1  คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
6.2  สมรสกับคู่สมรสเดิม
6.3  มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
6.4  ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
สถานที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส 
คู่สมรสยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครแห่งใดก็ได้ โดยไม่เป็นจำเป็นว่าจะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตอำเภอฯ นั้นหรือไม่
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
(2)    หากผู้ร้องจดทะเบียนสมรสมาก่อน ต้องแสดงหลักฐานการหย่า หรือหลักฐานการตายของคู่สมรสเดิม
(3)    คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล (กรณีศาลสั่งให้จดทะเบียนสมรส)
(4)    หนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสจากสถานฑูตพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย(กรณีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว)
(5)    คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) ต้องนำบิดาและมารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครองมาให้ความยินยอมด้วย หากไม่สามารถมาด้วยตนเองได้ให้ใช้หนังสือให้ความยินยอม
(6)    พยานอย่างน้อย 2 คน


ทะเบียนหย่า
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่หย่า
(2)    ใบสำคัญการสมรสหรือสำเนาทะเบียนสมรสของคู่หย่า
(3)    หนังสือสัญญาหย่า หรือข้อตกลงการหย่าที่มีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน (กรณีจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอม)
(4)    คำพิพากษาถึงที่สุดและคำรับรองว่าถูกต้อง (กรณีจดทะเบียนหย่าตามคำพิพากษา)
(5)    หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล (ถ้ามี)
(6)    พยานอย่างน้อย 2 คน

ทะเบียนการรับรองบุตร
ขั้นตอนการจดทะเบียน
(1)    บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร
(2)    เด็กและมารดาเด็กทั้งสองคน ต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียน ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กเป็นผู้ไร้เดียงสา หรือมารดาของเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น บิดาจะต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาที่ให้จดทะเบียน จึงจะจดทะเบียนรับรองบุตรได้
สถานที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียน 
บิดาที่ประสงค์จะจดทะเบียนรับรองบุตร สามารถยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ  หรือสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร แห่งใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตอำเภอฯ นั้น หรือไม่
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา
(2)    บัตรประจำตัวประชาชนของบุตร (ถ้ามี)
(3)    สูติบัตรหรือใบเกิดของบุตร (ถ้ามี)
(4)    หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล (ถ้ามี)
(5)    คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล (กรณีมารดาเสียชีวิต หรือบุตรเป็นผู้ไร้เดียงสา)
(6)    พยานอย่างน้อย 2 คน

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
คุณสมบัติของผู้จดทะเบียน
(1)    ผู้จะขอรับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุมากกว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
(2)    ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย
(3)    กรณีผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน และหากผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไป ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา (ผู้ร้อง)
(2)    กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องใช้หนังสืออนุมัติให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรุงเทพมหานครหรือชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยยื่นเรื่องขอหนังสืออนุมัติฯ ได้ที่ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ต่างจังหวัดยื่นเรื่องได้ที่ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
(3)    กรณีบุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส คู่สมรสต้องให้ความยินยอม หากไม่สามารถมาให้ความยินยอมด้วยตนเองให้ใช้หนังสือให้ความยินยอม
(4)    กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ต้องใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
(5)    พยานอย่างน้อย 2 คน

การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา (ผู้ร้อง)
(2)    สำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
(3)    กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องมีหนังสือรับรองว่าได้เข้าสู่กระบวนการเยียวยา จากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่ให้ความยินยอมจากผู้ที่ให้ความยินยอมในขณะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
(4)    กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ต้องใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
(5)    พยานอย่างน้อย 2 คน

การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
(1)    บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้อง
(2)    หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนครอบครัว เช่น สมรส หย่า รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้นที่ทำขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือสถานทูตสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ แล้ว
(3)    พยานอย่างน้อย 2 คน


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตมีนบุรี
โทร.  0 2540  7160  ต่อ  6661  ,   0 2540 7155  , 0 2914 5833
โทรสาร  0 2540 7155  
E-Mail : khet_minburi@yahoo.com
ที่มา : http://www.bangkok.go.th/minburi/page/sub/3113/%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-16-%E0%B8%81%E0%B8%9E-58

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow Us On